สถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นการศึกษาสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานเทคนิควิทยาการทั้งทางวิทยาศาสตร์
ศิลปะ และวัฒนธรรม เข้าด้วยกัน
เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตของมนุษย์
ในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่อาศัยวัฒนธรรม
ความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่นั้นสนองตอบในเชิงจิตวิทยา
ซึ่งผู้ออกแบบต้องเข้าใจความต้องการในการใช้พื้นที่นั้น ๆ
อย่างลึกซึ้งอันมีผลกับการออกแบบที่ดี และไม่ดี
หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปวิทยาการในการออกแบบอาคารและสิ่งเกี่ยวเนื่อง
เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมในการดำรงชีวิตของมนุษย์
โดยครอบคลุมตั้งแต่ระดับมหภาค ถึงจุลภาค เช่น การวางผังชุมชน การออกแบบชุมชน ภูมิสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบศิลปะ เรื่องของชุมชน เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย
สถาปัตยกรรม เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการออกแบบกายภาพด้านต่างๆ เช่น การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์การออกแบบภายใน ตลอดจนการปรุงแต่งสภาพแวดล้อม ให้ได้ประโยชน์ใช้สอยที่ดีที่สุดแก่เจ้าของงาน และประชาชนที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงออกถึงคุณค่าแห่งศิลปะ ในสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้น นั้น นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงด้านการวางแผนและเคหการอีกด้วย
คณะนี้มีสาขาให้เลือกศึกษาได้ดังนี้
1.สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมการใช้วัสดุ วิธีการก่อสร้าง และความรู้ทางสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง คำนึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนความงาม และความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งส่วนของโครงการที่ปฏิบัติ และผลกระทบต่อส่วน รวม ทั้งนี้จะเน้นปัจเจกภาพเฉพาะบุคคลเป็นสำคัญ
2.สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย ศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมไทย และศึกษาแหล่งที่มาอิทธิพลขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยศึกษา และฝึกหัดเขียนลายไทยชนิดต่าง ๆตั้งแต่ง่ายไปจนถึงการบบรจุลายลงบนส่วนประกอบสถาปัตยกรรม ให้ถูกต้องตามหน้าที่ และสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมไทยให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและสังคม ปัจจุบัน
3. สาขาวิชาการปัตยกรรมภายใน เป็นศาสตร์ที่ประสานกันระหว่างงานสถาปัตยกรรม และงานออกแบบภายใน เป็นวิชาชีพทางด้านการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม ซึ่งเน้นการจัดที่ว่างภายในอาคารเพื่อประโยชน์ใช้สอย และความงามโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมวัสดุ และเทคโนโลยีในการก่อสร้างความรู้ทาง วิศกรรมที่เกี่ยวข้อง การประหยัดพลังงานและทรัพยากร สภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้การใช้สอยภายในอาคารเกิดสภาพแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพเหมาะสมแก่ผู้ใช้ อาคารทั้งด้านร่างกาย
4. สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม เน้นหนักการออกแบบ 5 สาขา คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบเลขะนิเทศ การออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา และการออกแบบสิ่งทอ โดยจะต้องศึกษาพื้นฐานทั้ง 5 สาขา แล้วเลือกเน้นสาขาที่ตนถนัด และทำวิทยานิพนธ์ในสาขานั้น
5. สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม เน้นหนักด้านการปรุงแต่งสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ และธรรมชาติให้มีความสมดุลซึ่ง กันและกัน ศึกษาด้านสุนทรียภาพและการใช้สอยของเมืองและที่อยู่อาศัยของมนุษย์ รวมถึงออกแบบสวนสาธารณะ สวนสัตว์ การอนุรักษ์ธรรมชาติ ป่า ต้นน้ำ ตลอดจนการอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญทางงประวัติศาสตร์
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ควรเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และทักษะในด้านทัศนศิลป์ที่สมดุลกับความรู้พื้นฐานทางด้าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพราะวิชาการออกแบบเป็นวิชาศิลปประยุกต์ ผู้สมัครเข้าเรียนจะต้องสอบผ่านวิชาความถนัด ด้านการออกแบบ จึงจะมีสิทธิ์เข้าศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรด้านการออกแบบสาขาต่าง ๆ ข้างต้นสามารถประกอบวิชาชีพอิสระ รับราชการ หรือทำงานบริษัทต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะดานการพัฒนา เช่น การออกแบบการก่อสร้าง การอุตสาหกรรม การโฆษณา รวมทั้งการอนุรักษ์ด้านต่าง ๆ เช่น การอนุรักษ์ธรรมชาติ โบราณสถาน และสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบศิลปะ เรื่องของชุมชน เรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ และเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาปัตยกรรม เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการออกแบบกายภาพด้านต่างๆ เช่น การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์การออกแบบภายใน ตลอดจนการปรุงแต่งสภาพแวดล้อม ให้ได้ประโยชน์ใช้สอยที่ดีที่สุดแก่เจ้าของงาน และประชาชนที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงออกถึงคุณค่าแห่งศิลปะ ในสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้น นั้น นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงด้านการวางแผนและเคหการอีกด้วย
คณะนี้มีสาขาให้เลือกศึกษาได้ดังนี้
1.สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมการใช้วัสดุ วิธีการก่อสร้าง และความรู้ทางสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง คำนึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนความงาม และความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งส่วนของโครงการที่ปฏิบัติ และผลกระทบต่อส่วน รวม ทั้งนี้จะเน้นปัจเจกภาพเฉพาะบุคคลเป็นสำคัญ
2.สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย ศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมไทย และศึกษาแหล่งที่มาอิทธิพลขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยศึกษา และฝึกหัดเขียนลายไทยชนิดต่าง ๆตั้งแต่ง่ายไปจนถึงการบบรจุลายลงบนส่วนประกอบสถาปัตยกรรม ให้ถูกต้องตามหน้าที่ และสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมไทยให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและสังคม ปัจจุบัน
3. สาขาวิชาการปัตยกรรมภายใน เป็นศาสตร์ที่ประสานกันระหว่างงานสถาปัตยกรรม และงานออกแบบภายใน เป็นวิชาชีพทางด้านการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม ซึ่งเน้นการจัดที่ว่างภายในอาคารเพื่อประโยชน์ใช้สอย และความงามโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมวัสดุ และเทคโนโลยีในการก่อสร้างความรู้ทาง วิศกรรมที่เกี่ยวข้อง การประหยัดพลังงานและทรัพยากร สภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้การใช้สอยภายในอาคารเกิดสภาพแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพเหมาะสมแก่ผู้ใช้ อาคารทั้งด้านร่างกาย
4. สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม เน้นหนักการออกแบบ 5 สาขา คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบเลขะนิเทศ การออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา และการออกแบบสิ่งทอ โดยจะต้องศึกษาพื้นฐานทั้ง 5 สาขา แล้วเลือกเน้นสาขาที่ตนถนัด และทำวิทยานิพนธ์ในสาขานั้น
5. สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม เน้นหนักด้านการปรุงแต่งสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ และธรรมชาติให้มีความสมดุลซึ่ง กันและกัน ศึกษาด้านสุนทรียภาพและการใช้สอยของเมืองและที่อยู่อาศัยของมนุษย์ รวมถึงออกแบบสวนสาธารณะ สวนสัตว์ การอนุรักษ์ธรรมชาติ ป่า ต้นน้ำ ตลอดจนการอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญทางงประวัติศาสตร์
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ควรเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และทักษะในด้านทัศนศิลป์ที่สมดุลกับความรู้พื้นฐานทางด้าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพราะวิชาการออกแบบเป็นวิชาศิลปประยุกต์ ผู้สมัครเข้าเรียนจะต้องสอบผ่านวิชาความถนัด ด้านการออกแบบ จึงจะมีสิทธิ์เข้าศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรด้านการออกแบบสาขาต่าง ๆ ข้างต้นสามารถประกอบวิชาชีพอิสระ รับราชการ หรือทำงานบริษัทต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะดานการพัฒนา เช่น การออกแบบการก่อสร้าง การอุตสาหกรรม การโฆษณา รวมทั้งการอนุรักษ์ด้านต่าง ๆ เช่น การอนุรักษ์ธรรมชาติ โบราณสถาน และสถาปัตยกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น