วิธีการสร้างสถาปัตยกรรม
แต่เดิมนั้นยุคแรกๆ จะเน้นเพื่อความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ยังไม่ได้เน้นถึงความสวยงาม ต่อมาจึงคิดรูปแบบได้ซับซ้อนมีการเขียนแบบก่อนลงมือก่อสร้าง ตลอดจนคิดคำนวณถึงเรื่องของน้ำหนัก แสง ยึดถึงสถานภาพทางภูมิศาสตร์กระแสทางลมพัดผ่าน และความเชื่อถือก็จะทำให้รูปแบบของสถาปัตยกรรมแตกต่างกันออกไปด้วย ปัจจุบันนี้รูปแบบง่ายๆ เป็นแท่ง เป็นกล่องไม่รุงรัง ไม่คำนึงถึงธรรมชาติมากนัก เพราะความเจริญทางเทคโนโลยี สามารถทำให้มนุษย์เอาชนะธรรมชาติได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ จึงมีส่วนทำให้มนุษย์สร้างรูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้ตามความต้องการ วัตถุที่ใช้ทำงานทางสถาปัตยกรรมนั้น จะมีความแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น หินไม้ อิฐศิลาแลง ซีเมนต์ เป็นต้น
แต่ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใดสถาปัตยกรรมก็ยังคงประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก
3 ส่วน ดังเช่นใน
บทความ
De Architectura ของวิทรูเวียส
ซึ่งเป็นบทความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม
ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบได้กล่าวไว้ว่า สถาปัตยกรรมต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลัก ๆ ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวและสมดุล อันได้แก่
ความงาม (Venustas)
ความมั่นคงแข็งแรง (Firmitas)
ประโยชน์ใช้สอย (Utilitas)
เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบแล้วบางท่านอาจสงสัยว่า
สิ่งก่อสร้างที่เป็นสถูป เจดีย์ ปรางค์
เป็นสถาปัตยกรรมที่สนองคุณประโยชน์ด้านใดเพราะไม่เหมือนบ้านเรือน
แต่เนื่องจากความต้องการของมนุษย์แบ่งเป็นความต้องการใหญ่ ๆ 2 อย่าง คือ ความต้องการทางกายและความต้องการทางจิตใจ ซึ่งความต้องการทั้งสองอย่างนี้จะสะท้อนออกมาทางสถาปัตยกรรมกล่าวคืออาคารบ้านเรือน นั้นเป็นความต้องการทางกาย ส่วน สถูป เจดีย์ ปรางค์ คือความต้องการทางจิตใจ
ที่สร้างขึ้นมาเพื่อสนองความเชื่อความศรัทธา
และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ ดังนี้เหตุผลเกี่ยวกับการใช้เนื้อที่ และบริเวณในสถาปัตยกรรมสร้างขึ้นเพื่อสนองความเชื่อและศาสนาจึง
ไม่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเพราะสถาปัตยกรรมบางอย่างสร้างขึ้นโดยไม่หวังใช้เนื้อที่ภายในเลย
เป็นสถาปัตยกรรมใช้ศึกษาค้นคว้าทางรูปแบบตามอิทธิพลและความเชื่อศรัทธาต่อศาสนา
หากแบ่งประเภทของสถาปัตยกรรมตามลักษณะงาน
สามารถออกได้เป็น 3 แขนง ดังนี้คือ
1. สถาปัตยกรรมออกแบบก่อสร้าง เช่น การออกแบบสร้างตึกอาคาร บ้านเรือน เป็นต้น
2. ภูมิสถาปัตย์ เช่น การออกแบบวางผัง จัดบริเวณ วางผังปลูกต้นไม้ จัดสวน เป็นต้น
3. สถาปัตยกรรมผังเมือง ได้แก่ การออกแบบบริเวณเมืองให้มีระเบียบ มีความสะอาด มีความรวดเร็วในการติดต่อ และถูกหลักสุขาภิบาล
2. ภูมิสถาปัตย์ เช่น การออกแบบวางผัง จัดบริเวณ วางผังปลูกต้นไม้ จัดสวน เป็นต้น
3. สถาปัตยกรรมผังเมือง ได้แก่ การออกแบบบริเวณเมืองให้มีระเบียบ มีความสะอาด มีความรวดเร็วในการติดต่อ และถูกหลักสุขาภิบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น